วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมเด็จพระเอกาทศรถ


                                                     สมเด็จพระเอกาทศรถ

          วีรกษัตริย์ของไทยอีกพระองค์หนึ่งซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกยกย่องเทิดทูนไว้เสมอด้วยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐา ให้มีพระเกียรติยศสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง สมเด็จพระเอกาทศรถกับสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงทำการสู้รบด้วยกันมาตั้งแต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระบิดา ยังเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา
           เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถจึงครองราชย์สมบัติเพียงพระองค์เดียวในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ (ปีมะเส็ง)   สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๖๓ (ปีวอก) หลังจากครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี

                                                                พระวีรกรรม
          หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปีพ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จพระนเรศวร ได้โดยเสด็จในการทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งนับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นจำนวนถึง ๑๗ ครั้ง สมเด็จพระเอกาทศรถได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ในปีเดียวกันในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองเป็นปกติสุข เป็นที่เคารพยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลจากการที่สมเด็จพระนเรศวร และพระองค์เองได้ทรงสร้างอานุภาพ ของราชอาณาจักรอยุธยาไว้อย่างยิ่งใหญ่ มีพระราชอาณาเขตแผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลเกินกว่ายุคใดๆของไทย พระองค์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาทำศึกมาตลอดการครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวร จึงไม่มีพระราชประสงค์จะแผ่พระราชอาณาเขตออกไปอีก และหันมาเน้นทางการปกครองบ้านเมืองแทน



ที่มา:บุญทรง ไทยคำ.ประวัติวีรบุรุษและวีรสตรีไทย.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:บรรณกิจ,2543

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
      พระราชประวัติ
         เมื่อพ่อขุนบานเมืองสววคตแล้ว  ผูที่สืบทอดราชสมบัติต่อมา คือ  พ่อขุนรามคำแหง  พระองค์ทรงได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองที่สุด 
        พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึกหลักที่ 1มีใจความว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายาพระนามว่า นางเสือง 3 องค์ พระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์ พระองค์กลางทรงพระนามว่า บาลเมือง ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า "พ่อกูชื่อ  ศรีอินทราทิตย์  แม่กู  ชื่อนางเสือง  พี่กูชื่อ  บานเมือง  ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน  ผูชายสาม  ผูหญิงโสง"
        พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพระราชสมภพปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองเหนือ คือ พงศาวดารเมืองโยนก กล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระสหายสนิทและรุ่นราวคราวเดียวกับพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และพญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักสุกกทันตฤาษี ณ เมือง ละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับพญางำเมือง ในขณะที่ทรงเล่าเรียนศิลปวิทยาอยู่ร่วมกันนั้นพญางำเมืองเจริญพระชันษาได้ 16 ปี
        เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระแล้ว ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกกองทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกกองทัพออกไปสู้รบกับขุนสามชน และพระราชโอรสองค์ที่สามซึ่งเจริญพระชันษาย่างเข้า 19 ปี ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งในการสงครามเข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงได้แตกพ่ายไป เมื่อชนช้างชนะขุนสามชนคราวนั้นแล้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาจึงพระราชทานเจ้ารามเป็น "พระรามคำแหง" ซึ่งคงจะหมายความว่าพระรามผู้เข้มแข็ง หรือ เจ้ารามผู้เข้มแข็ง
        พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์องค์ที่สามต่อจากพระเชษฐา  คือ  พ่อขุนบานเมืองแห่งราชวงศ์พระร่วง ศักราชที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1) คือ มหาศักราช 1205 (พ.ศ. 1826) นั้นเป็นปีที่พระองค์ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มหาศักราช 1207 (พ.ศ. 1828) ทรงสร้างพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย (เข้าใจว่า คือ พระเจดีย์ที่วัดช้างล้อม ในปัจจุบัน) มหาศักราช 1214 (พ.ศ. 1835) โปรดให้สร้างแท่นหิน ชื่อ พระแท่นมนังศิลาบาตร และสร้างศาลา 2 หลังชื่อ ศาลาพระมาสและพุทธศาลา ประดิษฐานไว้กลางดงตาล เพื่อเป็นที่ประทับว่าราชการและทรงสั่งสอนข้าราชการและประชาชนในวันธรรมดา ส่วนวันอุโบสถโปรดให้พระสงฆ์นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม รัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ราชอาณาเขตแผ่ขยายไปกว้างขวาง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างที่เรียกกันว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใส" การพาณิชย์เจริญก้าวหน้า ศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองหลาย
ประการ  ดังนี้
       ด้านกาปกครอง  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์  ได้แบ่งการปกครองออกมา  3  รูปแบบ ได้แก่
      ๑.การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิมอยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างพ่อปกครองลูก  หรือปิตุรักษ์ (Paternalism)   ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
        "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม.."
        และในหลักจารึกที่๑ ด้านที่๓  ได้กล่าวไว้ว่า "ผิใช่วันสวดธรรม  พ่อขุนรามคำแหง  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย  ขึ้นนั่งเหนือธะดารหิน  ให้ฝูงทวยลูกเจ้าขุน  ฝูงถ่วยถือบ้านเมืองกัน"  จากคำจารึกนี้แสดงว่า  พ่อขุนรามคำแหงมีความห่วงใยต่อข้าราชบริพาร  แม้แต่การตายยังทรงเป็นธุระเหมือนพ่อช่วยปลอบยามลูกมีทุกข์  นอกจากนี้ยังทรงเป็นธุระในการอบรมราชวงศ์  ข้าราชกาและประชาชนให้มีความู้ในการบ้านเมือง  และให้ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
        ๒.การปกครองแบบกระจายอำนาจแบ่งการปกครองออกเป็น  3 ระดับ คือ ระดับศูนย์กลาง  ระดับปฏิบัติตามนโยบาย  และระดับส่งเครื่องราชบรรณาการ 
                         กรุงสุโขทัย  เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ให้มีลูกหลวงเป็นเมืองรองจากเมืองหลวง  และเป็นเมืองชั้นในตั้งอยู่สี่ทิศ มีความสำคัญทงยุทธศาสตร์ มีความใกล้ชิดกัเมืองหลวงมากที่สุด  เมืองหลวงกำหนดนโยบายในการบริหารและกำกับ
                        เมืองลูกหลวง หมายถึง  เมืองชั้นในที่รับนโยบายจากเมืองหลวงไปปฏิบัติ  อำนาจเป็นอำนาจของผู้ครองเมือง  บทบทหน้าที่สำคัญคือ  การป้องกันการรุกรานจากภายนอก  จึงได้กำหนอกเมืองในลักษณะนี้ไว้ทั้งสี่ทิศ  ผู้ที่จะมาครองเมืองลูกหลวงจะเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยมากที่สุด  ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย  ทิศตะวันออก  คือ เมืองสองแคว(พิษณุโลก)  ทิศใต้ คือ มืองพระบาง(นครสวรรค์)  ทิศตะวันตก  คือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)
                       เมืองพระยามหานคร  เป็นเมืองเล็กเมืองน้อยซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์เดิมของเมืองนั้น ๆ เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "ขุน"   มีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสุโขทัย
                      ศิลาจารึกหลักที่ ๓ ได้จารึกไว้ว่า มีเมืองพระยามหานครได้แก่  เมืองคณฑี  เมืองเชียงทอง  เมืองพระบาง เมืองพาน  เมืองบางฉลัง เป็นต้น 
                     เมืองประเทศราช  บางครั้งเรียกว่า "เมืองออก" หรือ  "เมืองขึ้น"  ได้แก่ เมืองหรือแคว้นต่างๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เองบ้าง  หรือเมืองที่ยกทัพไปสู้รบจนยึดครองไว้ได้  เมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลกับสุโขทัยยากแก่การปกครอง  จึงมีการมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองหรือผู้นำแคว้น  เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเป็นประจำปี  เมืองประเทศราชได้แก่  เมืองในภาคกลาง  ตลอดไปจนถึงแหลมมลายูทั้งหมด และทางภาคเหนือ เช่น แพร่ น่าน พลั่ว เป็นต้น
        ลักษณะการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะคล้ายการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไร ?
                ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  การปกครองคล้ายระบอบประชาธิปไตย  ไม่ถึงกับเป็นรูปแบบ  เป็นแต่เพียงประชาชนมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเท่านั้น  เช่น  มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ  ทรัพย์สินบ้านเรือน  การเดินทางไปต่างถิ่น  การแสวงหาความยุติธรรม  ดั่งปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ ๑ ว่า "...เมืองสุโขทัยนี้ดี...เพื่อนจูงวัวไปค้า  ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้าใครจักใคร่ค่าเงือนค้าทองคำ..."
         กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีสาระสำคัญอย่างไร ?
         กฏหมายพื้นฐาน  ของกรุงสุโขทัยมีอยู่  ๒  เรื่อง  คือ  กฏหมายเกี่ยวกับมรดก  และกฏหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน  ซึ่งปรากฏอยู่บนศิลาจารึกเขากบ  ของพ่อขุนรามำแหง พ.ศ.๑๘๓๕  มีสาระถอดความดังนี้    
        กฎหมายเกี่ยวกับมรดก  ได้กล่าวว่า "ทรัพย์สมบัติทุกชนิดของบิดานั้น  เมื่อยิดาเสียชีวิตลงแล้วจะต้องตกเป็นของบุตรทั้งสิน" ดังข้อความในจารึกว่า 
        "ลุกเจ้าลูกขุนผู้ใดเล้  ล้มตายหายกว่า  เย้าเรือนพ่อ  เชื้อเสื้อคำมัน  ช้างของลูกเมียเยียข้าว  ไพร่ฟ้าค่าไท  ปลามาปลากู พ่อเชื้อมัน  ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
         กฎหมายยเกี่ยวกับสิทธิที่ดิน  ได้กล่าวว่า  "หากมีความขันแข็งที่จะขยายที่ดินเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป  ก็ให้ที่ดินตกเป็นของผู้นั้น"  นับว่าเป็นนโยบายส่งเสริมให้กับประชาชนขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม และเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจด้วย  ดังข้อความในศิลาจารึกดังนี้
          "สร้างป่ามา ป่าพลู ทั่วมืองทุกแห่ง  ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าสางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้  หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน"         
        การพัฒนาบ้านเมือง  พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก  พระองค์ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ดังนี้
        ๑.การปกครองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรับปรุงรูปแบบในลักษณะต่างๆหลายลักษณะ
        ๒.นโยบายทางการเมืองระหว่างอาณาจักรและต่างประเทศ  มุ่งเน้นความมั่นคง
        ๓.เศรษฐกิจ  ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรีในเมืองสุโขทัยเอง  และอาณาจักรอื่นๆ
        ๔.ด้านสังคม  ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขบนพื้นฐานคำสอนศาสนา
        ๕.ด้านความเชื่อ  ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
         ๖.ศิลปวัฒนธรรม  สุโขทัยมีศิลปวัฒนธรรม หลายอย่างสืบทอดกันจนมาถึงปัจจุบัน  และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยในปัจจุบัน
         พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลในการรวมชาติไทยให้มั่นคง  โยการสร้างสิ่งยึดเหนี่ยวไว้ร่วมกัน  ซึ่งต้องเป็นสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ที่มีความหมายประจำชาติ  ด้วยเหตุผลดั่งกล่าวพระองค์จึงทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น  ในปี พ.ศ. ๑๘๒๖  โดยดัดแปลงจากอักษรขอม และ มอญ  ซึ่งลอกมาจากอักษรคฤษธ์  ของอินเดียวอีกครั้งหนึ่ง  และโปรดให้จารึกข้อความด้วยตัวอักษรที่คิดขึ้นใหม่ไว้ในหลักศิลา
        
         ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีบทบาทและหน้าที่  
         ราษฎรในสมัยสุโขทัย  ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสามัญหรือไพร่นั้นเอง  อยู่ภายใต้การปกครองเจ้าขุนมูลนาย  ดังนั้นคนเหล่านี้ต้องมีสังกัดขึ้นกับเจ้าขุนมูลนายคนใดคนหนึ่ง  และจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
         หน้าที่สำคัญของชายฉกรรจ์ในสมัยสุโขทัย  คือการรับราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์  โดยเมื่อมีความสูงเสมอไหล่สองศอกครึ่งจะถูกมูลนายเอาชื่อขึ้นบัญชีเพื่อเกณฑ์ทหารหรือใช้ในราชการอื่นๆ  เช่น  แรงงานเกษตรกรรม  สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  ก่อสร้างอาคารอื่นๆ  หรือถาวรวัตถุอื่นๆ  ทำหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศหรือขยายอาณาเขตของประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  แต่คนเหล่านี้จะไม่ได้รับเงินเดือนหรือเบี้ยหวัด  บำนาญใดๆ  จะต้องทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง  มีเพียงได้รับสิทธิการคุ้มครองตามกฎหมายเท่านั้น
        อาณาเขตรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชปรากฏตามศิลาจารึกว่า 
ด้านทิศตะวันออก
ถึงเมืองสรลวงสองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย สคาเท้าฝั่งโขง ถึงเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ
ด้านทิศใต้
ถึงเมืองคนที (บ้านโคน อยู่ทางฝั่งวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (เมืองสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท) สุพรรณภูมิ (จังหวัดสุพรรณบุรี)ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช
ด้านทิศตะวันตก
ถึงเมืองฉอด เมืองหงสาวดี และ
ด้านทิศเหนือ
ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลั่วพ้นไปถึงฝั่งโขงดินแดนสิบสองจุไทย
         จะเห็นได้ว่าอาณาเขตสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น แท้ที่จริงคือพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน เว้นแต่ตอนเหนือและพื้นที่ส่วนใหญ่ทางซีกตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา















        สุทธิ   ภิบาลแทน  . เปิดโลกประวัติศาสตร์สุโขทัย  . สุโขทัย  --  กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์  , 2550

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชาวบ้านบางระจัน



          ชาวบ้านบางระจัน  เป็นกลุ่มบุคคลที่ถือเป็นตัวอย่างบุคคลสำคัญในภาคกลาง  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า  เป็นกลุ่มบุคคลผู้กล้าหาญและเสียสละชีวิตต่อชาติบ้านเมือง
          
ประวัติ
               ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยได้ยกกองทัพมา 2 ทาง  คือ  ทางเมืองกาญจนบุรีและทางเมืองตาก  โดยมีเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ  โดยทัพแรกให้เนเนียวสีหบดีเป็นแม่ทัพยกมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยาแล้วให้ย้อนกลับมาตีกรุงศรีอยุธยา  ส่วนทัพที่ มอบให้มหานรธาเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองทวายและกาญจนบุรี  แล้วให้ยกกองทัพมาสมทบกับเนเมียวสีหบดีเพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาพร้อมกัน
               ทัพของเนเมียวสีหบดีได้มาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองวิเศษไชยชาญ  แล้วให้ทหารออกปล้นสะดมทรัพย์สมบัติ  เสบียงอาหาร  และข่มเหงราษฎรไทย  จนชาวเมืองวิเศษไชยชาญไม่สามารถถอดทนต่อการข่มเหงของพวกพม่าได้  กลุ่มชาวบ้านที่บางระจันประกอบด้วย  นายแท่น  นายโชติ  นายอิน  นายเมือง  นายดอก  และนายทองแก้ว  จึงได้รวบรวมชาวบ้านต่อสู้กับพม่า  โดยได้อัญเชิญพระอาจารย์ธรรมโชติจากสำนักวัดเขานางบวช  แขวงเมืองสุพรรณบุรี  ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาให้มาช่วยคุ้มครองและมาร่วมให้กำลังใจ  และได้มีบุคคลชั้นหัวหน้าเพิ่มขึ้นอีก  ได้แก่  ขุนสวรรค์  นายจันหนวดเขี้ยว  นายทองเหม็น  นายทองแสงใหญ่  และพันเรือง  เมื่อมีชาวบ้านอพยพเข้ามามากขึ้น  จึงช่วยกันตั้งค่ายบางระจันขึ้น  เพื่อต่อสู้ขัดขวางการรุกรานของพม่า
            
 วีรกรรมสำคัญ
               ชาวบ้านบางระจันรวบรวมชาวบ้านได้จำนวนมาก  จึงตั้งค่ายสู้รบกับพม่า  โดยมีกลุ่มผู้นำรวม 11 คน  พม่าได้พยายามเข้าตีค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง  แต่ก็ไม่สำเร็จ
               ในที่สุดสุกี้ซึ่งเป็นพระนายกองของพม่าได้อาสาปราบชาวบ้านบางระจัน  โดยตั้งค่ายประชิดค่ายบางระจัน  แล้วใช้ปืนใหญ่ยิงเข้าไปในค่ายแทนการสู้รบกันกลางแจ้ง  ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตไปจำนวนมาก
               ชาวบ้านบางระจันไม่มีปืนใหญ่ยิงตอบโต้ฝ่ายพม่า  จึงมีใบบอกไปทางกรุงศรีอยุธยาให้ส่งปืนใหญ่มาให้  แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่กล้าส่งมาให้  เพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายพม่าดักปล้นระหว่างทาง  ชาวบ้านจึงช่วยกันหล่อปืนใหญ่โดยบริจาคของใช้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองเหลืองมาหล่อปืนได้สองกระบอก  แต่พอทดลองนำไปยิง  ปืนก็แตกร้าวจนใช้การไม่ได้
               ถึงแม้ว่าไม่มีปืนใหญ่  ชาวบ้านบางระจันก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับพม่าต่อไปจนกระทั่งวันแรม 2 ค่ำ  เดือน พ.ศ. 2309  ค่ายบางระจันก็ถูกพม่าตีแตกและสามารถยึดค่ายไว้ได้  หลังจากที่ยืนหยัดต่อสู้กับข้าศึกมานานถึง 5 เดือน
               จากวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันทำให้ได้รับการยกย่องว่า  เป็นวีรกรรมของคนไทยที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการเสียสละชีวิตให้แก่ชาติบ้านเมือง  และแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความกล้าหาญของคนไทยในการต่อสู้กับข้าศึก  และถือเป็นแบบอย่างที่ดีของอนุชนรุ่นหลัง  ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์วีรขนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อวีรชนที่เป็นหัวหน้าทั้ง 11 คน  ขึ้นบริเวณหน้าค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี  เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบต่อไป



ที่มา : เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท


พระประวัติ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูตเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2286 มีพระนามเดิมว่า “บุญมี” ขณะนั้นพระบิดายังคงเป็นพระพินิจอักษร (ทองดี) พระชนนีมีพระนามว่า “ดาวเรือง” หรือ “หยก” พระบรมเชษฐาธิราช คือ หลวงยกกระบัตร (ทองด้วง) ซึ่งต่อมาเสด็จขึ้นครองราชเป็นพระบาทสมเด็จพรุพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เมื่อบุญมาอายุ 16 ปี บิดาได้นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเอกทัศ ได้เลื่อนเป็น “นายสุจินดา” ใน พ.ศ. 2306 ต่อมาใน พ.ศ. 2310 เมื่อกรุงศรีอยุทธยาถูกพม่าโจมตีใกล้จะเสียทีแก่พม่าแล้ว นายสุจินดากับเพื่อนอิก 3 คนได้พากันออกจากกำแพงพระนคร ลงเรือตอนพลบค่ำพายไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จุดหมายปลายทางคือ ต้องการไปหาหลวงยกกระบัตร ที่เมืองราชบุรี
ตำแหน่งการรับราชการของสมเด็พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เริ่มจาก นายสุจินดา พระมหามนตรี พระยาอนุชิตราชา พระยายมราขช เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช  และทรงได้รับการสถาปณาเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ 1
สมเด็พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท  สวรรคตเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2346 พระชนมายุ 60 พรรษา สาเหตุจากทรงพระประชวรเป็นโรคนิ่ว มีอาการรุนแรงมาก ในคร้งที่ไปรบกับพม่า

พระวีรกรรม
                ในรัชสัมยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงทำการรบถึง 16 ครั้ง ส่วนมากเป็นการรบกับพม่า การรบครั้งสำคัญได้แก่ การตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น พ.ศ. 2310 ร่วมกับพระยาตากสิน ขับไล่พม่าออกจากภาคกลางของไทยได้ทั้งหมด และครั้งสุดท้ายเสด็จไปปราบจราจลในกรุงกัมพูชาใน พ.ศ. 2323 ร่วมกับสมเด็จพระยาพระมหากบัตริย์ศึกและเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ลุกเธอองค์ใหญ่
                ต่อมาสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนานว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2325 ได้สถาปนาเจ้าพระยาสุรสิงห์พิษณวาธราช ขึ้นเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ต้องทรงรับหน้าที่ขุนพลเอกให้แก่พระบรมเชษฐาธิราชแต่ลำพังพระองค์เดียว นับเป็นพระราชภาระที่หนักมาก ทรงเป็นแม่ทับไปรบรบร่วม 8 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการรบกับพม่า
                การรบครั้งสำคัญที่สุดที่กล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพระปีชาสามารถในการทหารและยุทวิธี คือ สงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุงแห่งพม่าขึ้นครองราชได้ 3 ปีได้ยกกองทัพบก เรือ ถึง 9 กองทัพเข้าสู่ประเทศไทยถึง 5 ทาง ทางที่สำคัญคือเข้าทางด่านเจดีย์ 3 องค์ ถึง 5 กองทัพ มีกำลังคนถึง  89000 คน สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพเสด็จออกยับยั้งกองทัพพม่าไม่ให้ลาวงล้ำเข้ามา สามรถเผด็จศึกได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยกำลังทหารเพียง 30000 คนเท่านั้น เป็นที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยและยุทวิธีในการรบครั้งนี้ได้จัดไว้นเป็นบทเรียนสำคัญในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของกองทัพไทยในปัจจุบัน
                เป็นระยะเวลา 35 ปีที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงรับราชการได้ทำสงครามถึง 24 ครั้ง ผลการทำสงครามทำให้ประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีอาณาเขตกว้างไกลกว่าสมัยใดๆ


ที่มา:สุทธิลักษณ์  อำพันวงศ์.คนเด่นในอดีต.สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น,2543

พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

        

         พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔  ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์เดียวในเจ้าจอมมารดาวาด 
เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาหนังสือชั้นต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบ โดยพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) เป็นอาจารย์ใหญ่ จากนั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯส่งไปศึกษา ณ โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ จบแล้วเข้าศึกษาต่อใน ตรินนิตี้คอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐และทรงศึกษาวิชาทหารช่างที่ซัมแทม จนสำเร็จได้รับยศเป็นนายร้อยตรีทหารช่างในปี พ.ศ. ๒๔๔๗  รวมระยะเวลาศึกษาในต่างประเทศคือประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๑๐ ปี
เมื่อเสด็จกลับไทยทรงรับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้รับพระราชทานยศนายพันตรี ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับแต่งตั้งให้มีพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน” และมีพระอิสริยะศักดิ์เป็น “นายพลตรี ราชองครักษ์” ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลละเป็นจเรการช่างทหารบก
ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร”มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๗ เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้รับราชการสืบต่อมา  และได้มีประกาศเกี่ยวกับการใช้คำนำหน้าพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ ๖ ตามประกาศในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔ จึงทรงเปลี่ยนคำนำหน้าพระนามเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน” และได้เลื่อนเป็นนายพลโทราชองครักษ์ ตำแหน่งแม่ทัพน้อย  ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เลื่อนเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน” ได้ทรงบัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก(พ.ศ. ๒๔๖๐) และเลื่อนเป็นนายพลเอกทหารบก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และเลื่อนพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน” ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕
ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ดำรงตำแหน่ง “เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม” เป็นพระองค์แรกในปี พ.ศ.๒๔๖๙ จากนั้นทรงได้รับแต่งตั้งเป็น “อภิรัฐมนตรี” ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชั้นสูง ในรัชกาลที่ ๗ เลื่อนเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน” ในปี พ.ศ.๒๔๗๒
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงปฏิรูปการปกครอง การบริหารราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล สำหรับการสาธารณูปโภคนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น การตั้งธนาคารการไฟฟ้า การไปรษณีย์โทรเลข การโทรศัพท์ เป็นต้น ในด้านการคมนาคมนอกจากการสร้างถนนและขุดครองเพิ่มเติมแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสำรวจพื้นที่เพื่อสร้างทางรถไฟ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ โดยวางเส้นทางให้ผ่านแหล่งสำคัญๆแถบกลางประเทศแล้วตัดแยกไปสู่เมืองสำคัญอันเป็นศูนย์การค้า เช่น นครราชสีมา เป็นต้น การสำรวจเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๔
จากนั้นในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสาย นครราชสีมา นับเป็น “ทางรถไฟหลวงสายแรก” ของไทย ครั้นถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปทรงเปิดการเดินรถไฟหลวงสาย กรุงเทพฯ – นครราชสีมา เป็นปฐมฤกษ์
สำหรับ “รถไฟราษฎร์” สายแรกคือ สายกรุงเทพฯ – ปากน้ำ ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เมเปิดบริหารเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร
ในระยะแรกการกิจการรถไฟต้องอาศัยชาวต่างชาติเป็นผู้บัญชาการและอำนวยการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ – ๒๔๖๐ รวมเป็นระยะประมาณ ๒๑ ปี ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อไทยประกาศสงครามเข้าร่วมกับพันธมิตรในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ทำให้ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลงว่างลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้รวมกรมรถไฟเหนือกับกรมรถไฟใต้ที่มีมาแต่เดิมเข้าเป็น “กรมรถไฟหลวง” เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน” (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง” นับเป็นคนไทพระองค์แรกที่ดำรงตำแหน่งสำคัญนี้
เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งแล้วพระองค์ทรงปฏิรูปกิจการรถไฟใหม่หลายประการ เช่น รวมกรมรถไฟเหนือกับกรมรถไฟใต้เข้าด้วยกัน จัดส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาการช่างในต่างประเทศโดยทุนการรถไฟหลวงติดต่อกันถึง ๗๓ คน ดำเนินการให้มีการออกพระราชบัญญัติ จัดการวางระเบียบการรถไฟ โดยให้กิจการรถไฟเอกชนที่ได้สัมปทาน เช่น สายแม่กลอง(จังหวัดสมุทรสงคราม) สายปากน้ำ(จังหวัดสมุทรปราการ) มาขึ้นกับกรมรถไฟหลวงเป็นที่เรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔
นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการขยายกิจการรถไฟอีกหลายสาย เช่น สายตะวันออก สร้างต่อจากแปดริ้ว(จังหวัดฉะเชิงเทรา) ไปจดอรัญประเทศ(ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดสระแก้ว)เปิดเดินรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีอรัญประเทศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙
สายเหนือจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๔๖๕โดยเจาะอุโมงค์ขุนตาลที่จังหวัดลำปาง
สายตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) จากสถานีกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดอุบลราชธานี ในปีพ.ศ. ๒๔๖๘ และมีทางแยกไปจังหวัดขอนแก่น
สายใต้จากสถานีบางกอกน้อย ถึงสถานีปาดังเบซา จังหวัดนราธิวาส ในปีพ.ศ. ๒๔๖๔
สำหรับสถานีหัวลำโพง กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่มีพิธีเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ และในรัชกาลที่ ๖ นี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับสายเหนือเข้ารวมกัน
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก ทรงบริหารกิจการกรมรถไฟหลวงด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทรงปรับปรุงกิจการรถไฟให้เจริญก้าวหน้ามีความมั่นคงทัดเทียมกับอารยประเทศ สมกับพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ ๖ ทรงวางรากฐานไว้จนทรงได้รับพระสมัญญาเป็น “พระบิดาแห่งการรถไฟไทย” และได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ประดิษฐาน ณ หน้าตึกที่ว่าการรถไฟ สะพานนพวงศ์ยศเส เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙พระชันษา ๕๕ ปี ทรงเป็นต้นสกุล “ฉัตรชัย” ทรงอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล  มีโอรส ธิดา รวม ๔ พระองค์


อ้างอิง : ธนากิต.  วีรบุรุษ วีรสตรี และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย.  กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2554