วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
      พระราชประวัติ
         เมื่อพ่อขุนบานเมืองสววคตแล้ว  ผูที่สืบทอดราชสมบัติต่อมา คือ  พ่อขุนรามคำแหง  พระองค์ทรงได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองที่สุด 
        พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึกหลักที่ 1มีใจความว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายาพระนามว่า นางเสือง 3 องค์ พระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์ พระองค์กลางทรงพระนามว่า บาลเมือง ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า "พ่อกูชื่อ  ศรีอินทราทิตย์  แม่กู  ชื่อนางเสือง  พี่กูชื่อ  บานเมือง  ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน  ผูชายสาม  ผูหญิงโสง"
        พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพระราชสมภพปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองเหนือ คือ พงศาวดารเมืองโยนก กล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระสหายสนิทและรุ่นราวคราวเดียวกับพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และพญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักสุกกทันตฤาษี ณ เมือง ละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับพญางำเมือง ในขณะที่ทรงเล่าเรียนศิลปวิทยาอยู่ร่วมกันนั้นพญางำเมืองเจริญพระชันษาได้ 16 ปี
        เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระแล้ว ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกกองทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกกองทัพออกไปสู้รบกับขุนสามชน และพระราชโอรสองค์ที่สามซึ่งเจริญพระชันษาย่างเข้า 19 ปี ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งในการสงครามเข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงได้แตกพ่ายไป เมื่อชนช้างชนะขุนสามชนคราวนั้นแล้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาจึงพระราชทานเจ้ารามเป็น "พระรามคำแหง" ซึ่งคงจะหมายความว่าพระรามผู้เข้มแข็ง หรือ เจ้ารามผู้เข้มแข็ง
        พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์องค์ที่สามต่อจากพระเชษฐา  คือ  พ่อขุนบานเมืองแห่งราชวงศ์พระร่วง ศักราชที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1) คือ มหาศักราช 1205 (พ.ศ. 1826) นั้นเป็นปีที่พระองค์ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มหาศักราช 1207 (พ.ศ. 1828) ทรงสร้างพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย (เข้าใจว่า คือ พระเจดีย์ที่วัดช้างล้อม ในปัจจุบัน) มหาศักราช 1214 (พ.ศ. 1835) โปรดให้สร้างแท่นหิน ชื่อ พระแท่นมนังศิลาบาตร และสร้างศาลา 2 หลังชื่อ ศาลาพระมาสและพุทธศาลา ประดิษฐานไว้กลางดงตาล เพื่อเป็นที่ประทับว่าราชการและทรงสั่งสอนข้าราชการและประชาชนในวันธรรมดา ส่วนวันอุโบสถโปรดให้พระสงฆ์นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม รัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ราชอาณาเขตแผ่ขยายไปกว้างขวาง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างที่เรียกกันว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใส" การพาณิชย์เจริญก้าวหน้า ศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองหลาย
ประการ  ดังนี้
       ด้านกาปกครอง  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์  ได้แบ่งการปกครองออกมา  3  รูปแบบ ได้แก่
      ๑.การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิมอยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างพ่อปกครองลูก  หรือปิตุรักษ์ (Paternalism)   ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
        "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม.."
        และในหลักจารึกที่๑ ด้านที่๓  ได้กล่าวไว้ว่า "ผิใช่วันสวดธรรม  พ่อขุนรามคำแหง  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย  ขึ้นนั่งเหนือธะดารหิน  ให้ฝูงทวยลูกเจ้าขุน  ฝูงถ่วยถือบ้านเมืองกัน"  จากคำจารึกนี้แสดงว่า  พ่อขุนรามคำแหงมีความห่วงใยต่อข้าราชบริพาร  แม้แต่การตายยังทรงเป็นธุระเหมือนพ่อช่วยปลอบยามลูกมีทุกข์  นอกจากนี้ยังทรงเป็นธุระในการอบรมราชวงศ์  ข้าราชกาและประชาชนให้มีความู้ในการบ้านเมือง  และให้ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
        ๒.การปกครองแบบกระจายอำนาจแบ่งการปกครองออกเป็น  3 ระดับ คือ ระดับศูนย์กลาง  ระดับปฏิบัติตามนโยบาย  และระดับส่งเครื่องราชบรรณาการ 
                         กรุงสุโขทัย  เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ให้มีลูกหลวงเป็นเมืองรองจากเมืองหลวง  และเป็นเมืองชั้นในตั้งอยู่สี่ทิศ มีความสำคัญทงยุทธศาสตร์ มีความใกล้ชิดกัเมืองหลวงมากที่สุด  เมืองหลวงกำหนดนโยบายในการบริหารและกำกับ
                        เมืองลูกหลวง หมายถึง  เมืองชั้นในที่รับนโยบายจากเมืองหลวงไปปฏิบัติ  อำนาจเป็นอำนาจของผู้ครองเมือง  บทบทหน้าที่สำคัญคือ  การป้องกันการรุกรานจากภายนอก  จึงได้กำหนอกเมืองในลักษณะนี้ไว้ทั้งสี่ทิศ  ผู้ที่จะมาครองเมืองลูกหลวงจะเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยมากที่สุด  ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย  ทิศตะวันออก  คือ เมืองสองแคว(พิษณุโลก)  ทิศใต้ คือ มืองพระบาง(นครสวรรค์)  ทิศตะวันตก  คือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)
                       เมืองพระยามหานคร  เป็นเมืองเล็กเมืองน้อยซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์เดิมของเมืองนั้น ๆ เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "ขุน"   มีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสุโขทัย
                      ศิลาจารึกหลักที่ ๓ ได้จารึกไว้ว่า มีเมืองพระยามหานครได้แก่  เมืองคณฑี  เมืองเชียงทอง  เมืองพระบาง เมืองพาน  เมืองบางฉลัง เป็นต้น 
                     เมืองประเทศราช  บางครั้งเรียกว่า "เมืองออก" หรือ  "เมืองขึ้น"  ได้แก่ เมืองหรือแคว้นต่างๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เองบ้าง  หรือเมืองที่ยกทัพไปสู้รบจนยึดครองไว้ได้  เมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลกับสุโขทัยยากแก่การปกครอง  จึงมีการมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองหรือผู้นำแคว้น  เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเป็นประจำปี  เมืองประเทศราชได้แก่  เมืองในภาคกลาง  ตลอดไปจนถึงแหลมมลายูทั้งหมด และทางภาคเหนือ เช่น แพร่ น่าน พลั่ว เป็นต้น
        ลักษณะการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะคล้ายการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไร ?
                ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  การปกครองคล้ายระบอบประชาธิปไตย  ไม่ถึงกับเป็นรูปแบบ  เป็นแต่เพียงประชาชนมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเท่านั้น  เช่น  มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ  ทรัพย์สินบ้านเรือน  การเดินทางไปต่างถิ่น  การแสวงหาความยุติธรรม  ดั่งปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ ๑ ว่า "...เมืองสุโขทัยนี้ดี...เพื่อนจูงวัวไปค้า  ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้าใครจักใคร่ค่าเงือนค้าทองคำ..."
         กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีสาระสำคัญอย่างไร ?
         กฏหมายพื้นฐาน  ของกรุงสุโขทัยมีอยู่  ๒  เรื่อง  คือ  กฏหมายเกี่ยวกับมรดก  และกฏหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน  ซึ่งปรากฏอยู่บนศิลาจารึกเขากบ  ของพ่อขุนรามำแหง พ.ศ.๑๘๓๕  มีสาระถอดความดังนี้    
        กฎหมายเกี่ยวกับมรดก  ได้กล่าวว่า "ทรัพย์สมบัติทุกชนิดของบิดานั้น  เมื่อยิดาเสียชีวิตลงแล้วจะต้องตกเป็นของบุตรทั้งสิน" ดังข้อความในจารึกว่า 
        "ลุกเจ้าลูกขุนผู้ใดเล้  ล้มตายหายกว่า  เย้าเรือนพ่อ  เชื้อเสื้อคำมัน  ช้างของลูกเมียเยียข้าว  ไพร่ฟ้าค่าไท  ปลามาปลากู พ่อเชื้อมัน  ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
         กฎหมายยเกี่ยวกับสิทธิที่ดิน  ได้กล่าวว่า  "หากมีความขันแข็งที่จะขยายที่ดินเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป  ก็ให้ที่ดินตกเป็นของผู้นั้น"  นับว่าเป็นนโยบายส่งเสริมให้กับประชาชนขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม และเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจด้วย  ดังข้อความในศิลาจารึกดังนี้
          "สร้างป่ามา ป่าพลู ทั่วมืองทุกแห่ง  ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าสางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้  หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน"         
        การพัฒนาบ้านเมือง  พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก  พระองค์ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ดังนี้
        ๑.การปกครองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรับปรุงรูปแบบในลักษณะต่างๆหลายลักษณะ
        ๒.นโยบายทางการเมืองระหว่างอาณาจักรและต่างประเทศ  มุ่งเน้นความมั่นคง
        ๓.เศรษฐกิจ  ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรีในเมืองสุโขทัยเอง  และอาณาจักรอื่นๆ
        ๔.ด้านสังคม  ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขบนพื้นฐานคำสอนศาสนา
        ๕.ด้านความเชื่อ  ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
         ๖.ศิลปวัฒนธรรม  สุโขทัยมีศิลปวัฒนธรรม หลายอย่างสืบทอดกันจนมาถึงปัจจุบัน  และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยในปัจจุบัน
         พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลในการรวมชาติไทยให้มั่นคง  โยการสร้างสิ่งยึดเหนี่ยวไว้ร่วมกัน  ซึ่งต้องเป็นสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ที่มีความหมายประจำชาติ  ด้วยเหตุผลดั่งกล่าวพระองค์จึงทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น  ในปี พ.ศ. ๑๘๒๖  โดยดัดแปลงจากอักษรขอม และ มอญ  ซึ่งลอกมาจากอักษรคฤษธ์  ของอินเดียวอีกครั้งหนึ่ง  และโปรดให้จารึกข้อความด้วยตัวอักษรที่คิดขึ้นใหม่ไว้ในหลักศิลา
        
         ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีบทบาทและหน้าที่  
         ราษฎรในสมัยสุโขทัย  ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสามัญหรือไพร่นั้นเอง  อยู่ภายใต้การปกครองเจ้าขุนมูลนาย  ดังนั้นคนเหล่านี้ต้องมีสังกัดขึ้นกับเจ้าขุนมูลนายคนใดคนหนึ่ง  และจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
         หน้าที่สำคัญของชายฉกรรจ์ในสมัยสุโขทัย  คือการรับราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์  โดยเมื่อมีความสูงเสมอไหล่สองศอกครึ่งจะถูกมูลนายเอาชื่อขึ้นบัญชีเพื่อเกณฑ์ทหารหรือใช้ในราชการอื่นๆ  เช่น  แรงงานเกษตรกรรม  สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  ก่อสร้างอาคารอื่นๆ  หรือถาวรวัตถุอื่นๆ  ทำหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศหรือขยายอาณาเขตของประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  แต่คนเหล่านี้จะไม่ได้รับเงินเดือนหรือเบี้ยหวัด  บำนาญใดๆ  จะต้องทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง  มีเพียงได้รับสิทธิการคุ้มครองตามกฎหมายเท่านั้น
        อาณาเขตรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชปรากฏตามศิลาจารึกว่า 
ด้านทิศตะวันออก
ถึงเมืองสรลวงสองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย สคาเท้าฝั่งโขง ถึงเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ
ด้านทิศใต้
ถึงเมืองคนที (บ้านโคน อยู่ทางฝั่งวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (เมืองสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท) สุพรรณภูมิ (จังหวัดสุพรรณบุรี)ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช
ด้านทิศตะวันตก
ถึงเมืองฉอด เมืองหงสาวดี และ
ด้านทิศเหนือ
ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลั่วพ้นไปถึงฝั่งโขงดินแดนสิบสองจุไทย
         จะเห็นได้ว่าอาณาเขตสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น แท้ที่จริงคือพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน เว้นแต่ตอนเหนือและพื้นที่ส่วนใหญ่ทางซีกตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา















        สุทธิ   ภิบาลแทน  . เปิดโลกประวัติศาสตร์สุโขทัย  . สุโขทัย  --  กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์  , 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น