พระราชประวัติ
สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก
โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร
การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท
ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชสวามี จะเป็นอันตราย
จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4
ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด
ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์
พระวีรกรรม
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึกสมเด็จพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม
4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช
ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร
ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า
ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก
พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด
สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร
ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย
เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ
ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน
แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา
คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัย ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ
กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ
กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมาก
ที่มา : พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. สุริโยไท ประวิติศาสตร์จากภาพยนตร์.พิมพ์ครั้งที่
2 . กรุงเทพ : สำนักพิมพ์รีดเดอร์ พับลิชชิ่ง,2544
เทิดพงษ์ เผ่าไทย. วีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่สมเด็จพระศรีสุริโยทัย.
กรุงเทพ :
สำนักพิมพ์น้ำฝน,2544